วันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

กฎของ Moore's law


Moore'law คืออะไร 

     กฎของมัวร์ (Mooer' low) คือ กฎที่อธิบายแนวโน้มของการพัฒนาฮาร์ดแวร์ของคอมพิวเตอร์ในระยะยาวมีความว่าจำนวนทรานซิสเตอร์ที่สามารถบรรจุลงในชิพจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในทุกๆสองปี
    
     กอร์ ดอน มัวร์ เป็นผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทอินเทล ได้ใช้หลักการสังเกตตั้งกฎของมัวร์ (Moore’s law) ขึ้นซึ่งเขาบันทึกไว้ว่าปริมาณของทรานซิสเตอร์บนวงจรรวม
       






 กฎของมัวร์

       ทฤษฎีของมัวร์ได้กล่าวไว้ว่า ความก้าหน้าของเทคโนโลยีและความซับซ้อนของเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ทำให้สามารถผลิตไอซีที่มีความหนาแน่นได้เป็นสองเท่าทุกๆช่วงระยะเวลาหนึ่ง นอกจากนี้ความก้าวหน้าอื่นๆ อีกหลายอย่างก็เป็นไปตามกฎของมัวร์

       การสร้างทรานซิสเตอร์ มีพัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง บริษัท แฟร์ซายด์ เซมิคอนดัคเตอร์ เป็นบริษัทแรกที่เริ่มใช้เทคโนโลยีการผลิตทรานซิสเตอร์แบบ planar หรือเจือสารเข้าทางแนวราบ เทคโนโลยีนี้เป็นต้นแบบของการสร้างไอซีในเวลาต่อมา จากหลักฐานที่กล่าวอ้างไว้พบว่า บริษัท แฟร์ซายด์ ได้ผลิตพลาน่าทรานซิสเตอร์ตั้งแต่ประมาณปี พ.ส. 2502 และบริษัทแท็กซัสอินสตรูเมนต์ได้ผลิตไอซีได้ในเวลาต่อมา และกอร์ดอนมัวร์ก็ได้กล่าวไว้ว่า จุดเริ่มต้นของกฎของมัวร์เริ่มต้นจากการเริ่มมีพลาน่าทรานซิสเตอร์

        คำว่า "กฎของมัวร์" นั้นถูกเรียกโดยศาสตรจารย์ Caltech นามว่า Carver Mead ซึ่งกล่าวว่า จำนวนทรานซิสเตอร์จะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในทุกๆหนึ่งปี ในช่วง 1965 ต่อมามัวร์จึงได้เปลี่ยนรูปกฎเพิ่มขึ้นสองเท่าในทุกๆสองปี ในปี 1975 




วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

รหัสแทนข้อมูล

รหัสแทนข้อมูล 

รหัสแอสกี (American Standard Code Information Interchange - ASII) 

     เป็นมาตรฐานที่นิยมใช้กันมากในระบบคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารข้อมูล เป็นการสร้างรหัสแทนสัญลักษณ์บนระบบคอมพิวเตอร์ที่ถูกกำหนดเป็นครั้งแรกโดยสถาบัน ANSI แต่เดิมนั้นมีขนาด 7 บิต ใช้แทนตัวอักษร, ตัวเลขและสัญลักษณ์ต่างๆ ทั้งสิ้น 128 แบบ และมีการเพิ่มภายหลังเป็นรหัสขนาด 8 บิต ซึ่งมีไว้เพื่อตรวจสอบความถูกต้องในการส่งข้อมูล เรียกว่า พาริติบิต จึงทำให้มีสัญลักษณ์ทั้งสิ้น 256 แบบ และรหัสแอสกีนี้เข้าได้กับเครื่องคอมทุกเครื่อง ถ้าเป็นรหัสอื่น ต้องแปลงเป็นแอสกีก่อนจึงจะใช้ได้



รหัสยูนิโค้ด (Unicode)

     เป็นรหัสที่สร้างขึ้นมาในระยะหลังที่มีการสร้างแบบตัวอักษรของภาษาต่างๆ รหัสยูนิโค้ดเป็นรหัสที่ต่างจาก 2 ชนิดที่ได้กล่าวมาข้างต้น คือ ใช้เลขฐานสอง 16 บิต ในการแทนตัวอักษร เนื่องจากที่มาของการคิดค้นรหัสชนิดนี้ คือ เมื่อมีการใช้งานคอมพิวเตอร์ในหลายประเทศและมีการสร้างแบบตัวอักษร (font) ของภาษาต่างๆ ทั่วโลก ในบางภาษาเช่น ภาษาจีน และ ภาษาญี่ปุ่น เป็นภาษาที่เรียกว่าภาษารูปภาพซึ่งมีตัวอักษรเป็นหมื่นตัว หากใช้รหัสที่เป็นเลขฐานสอง 8 บิต เราสามารถแทนรูปแบบตัวอักษรได้เพียง 256 รูปแบบที่ได้อธิบายมาข้างต้น ซึ่งไม่สามารถแทนตัวอักษรได้ครบ จึงสร้างรหัสใหม่ขึ้นมาที่สามารถแทนตัวอักขระได้ถึง 65,536 ตัว ซึ่งมากพอและสามารถแทนสัญลักษณ์กราฟิกและสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ได้อีกด้วย


ตอบคำถาม   ชื่อ - สกุล ของน.ศ. ในภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่แทนด้วยรหัส Ascll ใดบ้าง และใช้พื้นที่จัดเก็บกี่ไบต์

SASITHORN SOMBOON

S = 0101 0011
A = 0100 0001
S = 0101 0011
I = 0100 1001
T = 0101 0100
H = 0100 1000
O = 0100 1111
R = 0101 0010
N = 0100 1110

Splash = 0010 0000

S = 0101 0011
O = 0100 1111
M = 0100 1101
B = 0100 0010
O = 0100 1111
O = 0100 1111
N = 0100 1110

SASITHORN SOMBOON มีทั้งหมด 17 Byte
หาค่าโดย 1 ตัวอักษร เท่ากับ 1 Byte
1 Byte เท่ากับ 8 Bit
17 คูณ 8 เท่ากับ 136 Bit